วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิธีการดูเพศดอกมะละกอฮอนแลนด์

1.ต้นเพศผู้  ให้ดอกตัวผู้ ( Staminate or male flower)   เกิดเป็นช่อ ( Cymose) บนก้านดอก ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวสั้น ๆ ล้อมกลีบดอกจำนวน 5 กลีบ เท่ากับกลีบดอกซึ่งมีสีขาวเชื่อมกันเป็นหลอด   มีเกสร 10 เกสร  ( ยาว 5 เกสรอยู่ระหว่างกลีบดอก สั้น 5 อยู่กลางกลีบ)  มีรังใข่แต่ไม่มีเกสรตัวเมีย  อย่างไรก็ตามดอกเพศผู้แบบ Teratological  ซึ่งพบในต้นตัวผู้ที่เปลี่ยนเพศได้ ( Sex – reversal staminate tree ) เกสรตัวเมียเจริญขึ้นมาสามารถให้ลูกได้ในสภาวะอุณหภูมิต่ำ ช่วงแสงสั้น  ความชื้นสูง
2.ต้นเพศเมีย  ให้ดอกเพศเมีย ( Pistillate or female flower ) เพียงอย่างเดียว เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 2 – 3 ดอก  ก้านดอกสั้น  เป็นดอกที่มีขนาดใหญ่กว่าดอกประเภทอื่น  ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ  เกิดติดกันอยู่บริเวณฐานของกลีบดอก  กลีบดอกมี 5 กลีบแยกจากกันตั้งแต่โคนดอกไม่มีเกสรตัว  มีรังไข่ขนาดใหญ่มีพูรังใข่ 5 พูตื้น ๆ ปกติจะต้องมีเกสรเพศผู้จากดอกอื่นมาผสมจึงจะติดเป็นผล ผลลักษณะทรงกลม ดอกที่ไม่ได้รับการผสมจะหลุดร่วงไป

     3.ต้นสมบรูณเพศ  ให้ดอกสมบูรณ์เพศ หรือ ดอกกระเทย ( Hermaphroditie )  แบ่งเป็น 5 ชนิด
ดอกอีลองกาตา ( Elongata )   ลักษณะของกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดจากฐานดอกจนถึงบริเวณครึ่งหนึ่งของความยาวของกลีบดอก  เกสรตัวผู้มี 10 เกสรเรียงเหมือนดอกเพศผู้  เกสรตัวเมียมี 5 carpels รังไข่มีรูปร่างยาว  ผลที่เกิดจึงมีลักษณะยาว ช่องว่างภายในผลแคบ รอยแยกของพูรังไข่ในผลเล็ก
ดอก รีดิวซ์ อีลองกาตา ( Reduced elongata)  เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีลักษณะคล้ายดอกตัวผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า กลีบดอกสั้น หนา แข็งกว่าดอกเพศผู้ เกสรรตัวเมียไม่เจริญจึงไม่ติดผล  เกิดขึ้นในสภาพอากาศร้อน  ความชื้นในดินต่ำ
ดอกคาร์เพลลอย์ อีลองกาตา ( Carpelloid elongata)    ดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวผู้ 2 – 10 เกสร  ตามปกติเกสรตัวผู้ควรจะอยู่ที่กลีบดอกแต่กับไปเจริญอยู่ติดระหว่างผนังรังไข่กับเกสรตัวเมีย  ทำให้รังไข่ผิดปกติ  ผลที่เกิดจะบิดเบี้ยว เกิดจากสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง
ดอกเพนเทนเดรีย ( Pentandria )  ดอกสมบูรณ์เพศที่มีลักษณะคล้ายดอกเพศเมีย  มีเกสรตัวผู้ขนาดใหญ่ 5 เกสร  เกิดอยู่ใกล้ฐานกลีบดอกติดกับร่องรังไข่  รังไข่มีขนาดใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลม  ผลจึงมีลักษณะกลมป้อมร่องลึกบริเวณตรงแนวเกสรตัวผู้ที่อยู่ติดกับรังไข่  เกิดในสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง หรืออุณหภูมิกลางวันกลางคืนต่างกันมาก
ดอกคาร์เพลลอยด์ เพนเทนเดรีย ( Carpelloid pentandria )  ดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวผู้อยู่ระหว่างกลีบดอก 2 กลีบ  ติดกับเกสรตัวเมียเหมือนดอก คาร์เพลลอยด์ อีลองกาตา  ผลจึงมีลักษณะบิดเบี้ยว  ( หน้าแมว หรือหมางับ )  เกิดในสภาพความชื้นสูง อากาศเย็น

เสริมนิดนึงครับ  ลักษณะดอกที่เปลี่ยนไปของต้นตัวผู้และต้นกระเทย เป็นเพราะเกิดจากยีนไม่เหมือนกันมาจับคู้กัน ส่วนตัวเมียยีนเหมือนกันจับคู่กันลักษณะเพศจึงคงที่กว่า  มีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปุ๋ยไนโตรเจนมากไปก็ทำให้เกิดดอกคาร์เพลลอยด์ได้  (ถ้าให้ในช่วงต้นกล้าจะมีแนวโน้มเป็นเพศเมียมาก)









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น